ไขควง(Screw Driver)
ในวิชาช่างนั้น หากเราจำเป็นต้องประกอบอุปกรณ์บางอย่างที่เป็นพลาสติกให้ยึดเข้ากับตัวผนัง เราควรใช้น็อตเป็นตัวยึด หากเราดันไปใช้อุปกรณ์อย่างตะปูล่ะก็ อาจจะทำให้ชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกอย่าง กล่องปลั๊กไฟ หรืออินเตอร์คอลพังเสียหายได้ อีกทั้ง น็อตเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่าตะปูหลายเท่าก็ไม่เหมาะที่จะใช้ค้อนไปตอกดังนั้นอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการขันน็อตเพื่อยึดติดชิ้นส่วนจำพวกนี้ให้เข้ากับผนังก็คือ ไขควงนั่นเอง
ไขควง ถือว่าเป็นเครื่องมือช่างที่สำคัญสำหรับช่างไฟฟ้าเป็นอย่างมาก
เป็นเครื่องมือสำหรับ คลายและขันสกรูต่าง ๆ
นิยมใช้สำหรับรื้อถอดประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ต่อฟิวส์ ประกอบดวงโคมไฟ
หรือซ่อมสวิทซ์ปลั๊กไฟฟ้าถอดตะปูเกลียวและอื่นๆอีกมามาย โดยไขควงที่มีคุณภาพจะทำจากเหล็กกล้าหรือเหล็กเครื่องมือใช้วิธีตีขึ้นรูปและชุบเพื่อให้ผิวของไขควงแข็งใช้งานได้ดี
บริเวณส่วนปลายหรือปากจะเหล็กแข็งชุบ
ส่วนด้ามจะเป็นพลาสติกหรือยางเผื่อต้องกันการเจ็บมือ
ขนาดและรูปทรงของไขควงถูกออกแบบให้เป็นไปตามลักษณะการใช้งาน เช่นไขควงที่ใช้สำหรับงานของช่างอัญมณี
(Jeweler's Screw Driver)จะออกแบบมาให้เป็นไขควงที่ใช้สำหรับงานละเอียดเที่ยงตรงกับ
ไขควงที่ใช้ในงานหนักของช่างเครื่องกลจะออกแบบให้ก้านใบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อให้ใช้ประแจ หรือ คีมจับขันเพื่อเพิ่มแรงในการบิดตัวของ ไขควง
ให้มากกว่าเดิมได้ไขควงประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วนคือ
ด้ามไขควง – ถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่สามารถจับได้อย่างถนัดมือ
การบิดไขควงไปมาสามารถทำโดยใช้แรงได้มากสุด
โดยส่วนใหญ่แล้วด้ามของไขควงจะทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น ไม้ พลาสติก
หรืออาจทำจากโลหะบางชนิด ก็ตามแต่ลักษณะการใช้งาน
ปากไขควง – ปากไขควงทำจากเหล็กกล้าเกรดดี
อาจจะเป็นทรงกลมหรือสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้ครับ
โดยเหล็กกล้าเหล่านี้จะถูกนำไปตีขึ้นรูปให้ลาดแบน และชุบแข็งด้วยความร้อน
ในส่วนที่ไม่ได้ตีขึ้นรูป ก็จะกลายเป็นก้านไขควง
ก้านไขควง – ท่านผู้อ่านคงสังเกตเห็นว่า
ไขควงมีทั้งก้านกลมและก้านเหลี่ยม แล้วท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมครับ
ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร สำหรับไขควงที่เป็นก้านกลม จะใช้สำหรับงานเบาครับ
ส่วนไขควงที่เป็นก้านเหลี่ยม ก็จะใช้สำหรับงานหนักครับ เพราะก้านที่เป็นเหลี่ยมของมันจะสามารถใช้ประแจหรือคีมจับเพื่อเพิ่มแรงบิดของงาน
ไขควงที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปก็จะมีอยู่ 2 ประเภท
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhij5d5lJyi21IvATx4Q5rs_mS1rbsGEHTO6hnz31up125wZ6EIiGhEwYpl9kLhppJw9W29zwAMhNuIvljJEyIw2NgBhS5KSx_5BFLwrZVEBCC2zV-k9yLP1IanHt7c8pn6PFJQIZnEL8M/s320/i8.jpg)
ไขควงปากแบน
1. ไขควงปากแบน คือ
ไขควงที่มีลักษณะปากแบนเป็นเส้นตรง ลาดเอียงไปยังสุดของปลายไขควง
ใช้ไขสกรูที่เป็นร่องเส้นเดียว
ไขควงปากแฉก
2. ไขควงปากแฉก คือ ไขควงที่มีลักษณะปากเป็นสี่แฉก ใช้ไขสกรูที่มีร่องของสกรูเป็นสี่แฉก
เวลาบิดจะต้องใช้แรงกดที่ด้ามมากว่าไขควงปากแบน
เพื่อไม่ให้เหลี่ยมของไขควงหลุดออกจากร่อง
นอกจากไขควงทั้ง 2 ประเภทนี้แล้ว ยังมีไขควงอีกหลากหลายประเภท
ที่เป็นที่รู้จักกันเฉพาะในวงการช่าง เช่น
-ไขควงปากบล็อก คือ ไขควงชนิดนี้มีลักษณะปากที่เป็นบล็อกหกเหลี่ยม
ใช้สำหรับสกรูที่มีร่องเป็นหกเหลี่ยม
-ไขควงหัวคลัตช์ คือ
ไขควงที่ใช้เฉพาะสำหรับงานที่เป็นโลหะแผ่น และงานตบแต่งที่ต้องการความประณีตสวยงาม
-ไขควงเยื้องศูนย์ หรือ ไขควงออฟเสท คือ
ไขควงที่ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับงานที่ไขควงปากแบนและไขควงปากแฉกใช้งานไม่ได้
เช่น ตามซอกมุมต่างๆ ไขควงชนิดนี้จะมีปากไขควงอยู่ที่ปลายก้านไขควงทั้งสองด้าน
และก้านไขควงที่อยู่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นด้ามไขควงด้วย
แต่การใช้งานไขควงประเภทนี้จะต้องระวังหน่อยนะครับ
เพราะไขควงประเภทนี้จะหลุดออกจากสกรูได้ง่าย และทำให้สกรูเสียหายได้
วิธีใช้และการบำรุงรักษาไขควง
1. เลือกใช้ปากของไขควงให้เหมาะสมกับร่องของหัวสกรู หรือสลักเกลียว เช่น
ปากสี่แฉก ร่องของหัวสกรู ต้องเป็นสี่แฉก ปากแบน ร่องของหัวสกรูต้องเป็นแบบกลม
2. ความหนาของปากไขควงต้องพอดีกับร่องของหัวสกรู
3. การจับไขควงสำหรับผู้ถนัดมือขวา ให้ใช้มือขวาจับด้าม ส่วนมือซ้ายจับที่แกน
แล้วออกแรงบิดด้วยมือขวา ส่วนมือซ้ายเพียงแต่ประคอง
ถ้ากำลังไม่พอให้ใช้ประแจปากตายช่วย
4. ขณะที่ใช้งานไขควงต้องตั้งตรง หรือตั้งฉากกับหัวสกรู
เมื่อต้องการคลายสกรูให้บิดไขควงทวนเข็มนาฬิกา
และบิดตามเข็มนาฬิกาเมื่อต้องการขันแน่น
5. ออกแรงบิดไขควงเท่านั้น ไม่ควรออกแรงกดมากเกินไป
6. ไม่ควรถือชิ้นงานไว้ในมือขณะใช้ไขควง เพราะอาจพลาดถูกมือได้
7. อย่าใช้ไขควงที่ชำรุด เช่น ด้ามแตกหรือร้าว ปากงอหรือบิดงอ
8. การขันสกรูยึดชิ้นงานที่เป็นไม้ควรใช้เหล็กตอกหรือสว่านเจาะนำก่อน
9. ปากไขควงและหัวสกรูต้องไม่มีน้ำมันหรือจาระบี
10. ห้ามใช้ไขควงแทนสกัด เหล็กนำศูนย์ หรือเหล็กงัด
11. ห้ามใช้ค้อนตอกที่ด้ามไขควง ยกเว้นไขควงที่ออกแบบมาให้ใช้ค้อนตอกได้
12. การใช้ไขควงตรวจไฟตรวจสอบวงจรไฟฟ้า
ด้ามของไขควงที่เป็นฉนวนต้องไม่แตกหรือร้าว
และไม่ควรใช้ตรวจสอบวงจรที่มีกระแสหือแรงเคลื่อนไฟฟ้าสูง
13. ภายหลังใช้งานต้องทำความสะอาดแล้วเก็บไว้ในที่แห้ง
ปราศจากน้ำมันหรือจาระบี
ข้อควรระวังในการใช้ไขควง
1. อย่าใช้ไขควงแทนสิ่วหรือสกัด
2. อย่าใช้ไขควงงัดอาจจะทำให้งอได้ง่าย
3. อย่าใช้ด้ามไขควงแทนค้อน
4. เมื่อชำรุดรีบซ่อมทันที
อ้างอิง
http://toolsth.blogspot.com/2012/04/screwdriver-3-handle-blade-or-ferule.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น